มองผ่านปรากฏการณ์ “ศรีพันวา” เห็น “6 เรื่อง” น่าสนใจของการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน

เนื่องจากอยากเข้าใจเรื่อง “ศรีพันวา” กับ “ประกันสังคม” เลยนั่งอ่านข้อมูลจากหลายๆแหล่ง พบ “6 เรื่อง” น่าสนใจที่สะท้อนถึง “การลงทุนของสำนักงานประกันสังคม” ดังนี้

joker123

“แค่เงินสมทบ 3 ฝ่าย แบบรัฐก็ยังตีตั๋วเด็ก ยังไงก็นำมาจ่าย 7 สิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนไม่เพียงพอ ดังนั้นการนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปลงทุนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ”
ประกันสังคมไม่ได้ลงทุนตามใจชอบ แต่มีกฎหมายแม่-กฎหมายลูก กำหนดไว้ว่าให้ลงทุนในกิจการใดๆได้บ้าง ?
แล้วตอนนี้ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนที่ไหนบ้าง ? ผลตอบแทนเป็นอย่างไร?
ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คือ ไปลงทุนในประเภทที่เรียกว่า “หน่วยลงทุนอสังหา(REITs)” หรือ “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยง แล้วมันเสี่ยงจริงหรือไม่ ? เพราะลงทุนแค่ 4 % เท่านั้นเอง
86 แห่งที่ประกันสังคมไปลงทุนใน REITs มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563
แล้วปัญหาเรื่องนี้อยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อคำว่า “ประกันสังคมไม่อิสระ” และ “จริยธรรมในการลงทุน” มีความหมาย

มีรายละเอียดแต่ละเรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 : “แค่เงินสมทบ 3 ฝ่าย แบบรัฐก็ยังตีตั๋วเด็ก ยังไงก็นำมาจ่าย 7 สิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนไม่เพียงพอ ดังนั้นการนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปลงทุนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ”

สล็อต

ทุกๆเดือนผู้ประกันตนมาตรา 33 , มาตรา 39 และมาตรา 40 จะถูกหักเงินสมทบทุกเดือน สูงสุดในมาตรา 33 คือ เดือนละ 750 บาท หรือ 5% ของค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท
เฉพาะในมาตรา 33 จะมีเงินจากนายจ้างสบทบอีก 5 % ในอัตราเดียวกับลูกจ้าง และ 2.75 % จากรัฐบาล (หากไม่นับว่ารัฐบาลยังคงค้างจ่ายเงินอีกหลายหมื่นล้านบาท)
สำหรับในมาตรา 40 จะมีเงินสมทบจากรัฐตามทางเลือกที่ 1-3
เงินทั้งสามส่วนนี้จะถูกส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ให้สำนักงานประกันสังคมนำไปบริหารจัดการและนำมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในกรณีต่างๆ ได้แก่ เจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน
ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 กองทุนประกันสังคมมีเงินสะสมจากการจ่ายสมทบของทั้ง 3 ฝ่าย รวมทั้งสิ้น 1,357,119 ล้านบาท
ผลจากการนำไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 63 มีผลตอบแทนอยู่ที่ 675,782 ล้านบาท
สถานะเงินกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 63 จึงมีเงินรวมกันทั้งสิ้น 2,114,775 ล้านบาท
หากพิจารณาดอกผลจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปีมา ก็จะพบว่ากองทุนมีดอกผลสะสมถึง 6 แสนกว่าล้าน เมื่อเทียบกับต้นเงิน 1.3 ล้านล้านบาท
สิ่งที่กองทุนประกันสังคม รวมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension Fund) ทั่วโลก ทำกันก็คือ การนำเงินที่อยู่ในกองทุน กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทน เพราะหากประกันสังคมไม่นำเงินไปลงทุน อนาคตก็จะไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายให้ผู้ประกันตนอย่างแน่นอน
เรื่องที่ 2 : ประกันสังคมไม่ได้ลงทุนตามใจชอบ แต่มีกฎหมายแม่-กฎหมายลูก กำหนดไว้ว่าให้ลงทุนในกิจการใดๆได้บ้าง ?

สล็อตออนไลน์

พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ระบุเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคม ไว้ในวงเล็บ (4) ว่า วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจัดหาผล ประโยชน์ของกองทุน
ทั้งนี้ในมาตรา 26 ระบุไว้ว่า “การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะ กรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง”
สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีการจัดสรรการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกัน สังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2559
ระเบียบข้อ 5 กำหนดว่า “ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการนำเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ หรือสำนักงานอาจดำเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนนำเงินกองทุนย่อยไปจัดหาผลประโยชน์”
ระเบียบข้อ 6 กำหนดว่า การนำเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทำได้สำหรับการลงทุน ดังต่อไปนี้

(1) ลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ดังนี้

เงินฝากของธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น

เงินฝากของธนาคารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

พันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินคลัง

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ค้ำประกันโดยรัฐบาล

หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

jumboslot

กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น

(2) ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ไม่สูงกว่าร้อยละ 40

→ เงินฝากของธนาคารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

→ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาล

→ หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

→ อสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)

→ หน่วยลงทุนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

→ สินค้าโภคภัณฑ์

→ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น

มีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน , คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง , คณะกรรมการลงทุน กำกับการดำเนินงานผ่านสำนักงานประกันสังคมที่เป็นผู้นำเงินไปลงทุน ทั้งนี้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงาน

เรื่องที่ 3 : แล้วตอนนี้ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนที่ไหนบ้าง ? ผลตอบแทนเป็นอย่างไร?

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 สำนักงานประกันสังคมรายงานว่า มีเงินในกองทุนประกันสังคม จำนวนทั้งสิ้น 2,114,775 ล้านบาท
ผลตอบแทนจากการลงทุนสะสม ตั้งแต่ปี 2534 – 30 มิถุนายน 63 จำนวน 675,782 ล้านบาท
แบ่งไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังนี้
1) สินทรัพย์ที่มั่นคงสูง จำนวน 1,688,446 ล้านบาท ประมาณ 80 % แบ่งเป็น

slot

พันธบัตรรัฐบาล ธปท. รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 1,455,976 ล้านบาท คิดเป็น68.85 %

หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 98,388 ล้านบาท 4.65%

หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 96,805 ล้านบาท คิดเป็น 4.58 %

เงินฝาก 37,278 ล้านบาท คิดเป็น 1.76 %

2) สินทรัพย์เสี่ยง 426,329 ล้านบาท ประมาณ 20 % แบ่งเป็น

ตราสารทุนไทย (หุ้น) 255,740 ล้านบาท คิดเป็น 12.09 %

หน่วยลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ 69,316 ล้านบาท คิดเป็น 3.28 %

หน่วยลงทุนอสังหาฯ ทองคำ โครงสร้างพื้นฐาน 90,809 ล้านบาท คิดเป็น 4.29 %

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 10,464 ล้านบาท คิดเป็น 0.50%

เรื่องที่ 4 : ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คือ ไปลงทุนในประเภทที่เรียกว่า “หน่วยลงทุนอสังหา(REITs)” หรือ “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยง แล้วมันเสี่ยงจริงหรือไม่ ? เพราะลงทุนแค่ 4 % เท่านั้นเอง

REIT เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หวังผลตอบแทนในรูปเงินปันผลระยะยาว ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์
ย่อมาจากคำว่า “Real Estate Investment Trust”
มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หรือเรียกสั้นๆว่า “ริทต์”
เป็นการรวบรวมเงินจากคนที่สนใจหลายๆคน แล้วเอาเงินนั้นไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงงาน โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม เพื่อเก็บค่าเช่า แล้วเอามาจ่ายให้กับผู้ลงทุนตามสัดส่วน
คนที่ลงทุนใน REIT ไม่ต้องเหนื่อยกับการดำเนินการใดๆทั้งสิ้น เพราะ REIT จะมี “ผู้จัดการ REIT” ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น ๆ คอยดำเนินการแทนทุกอย่าง
REIT จะมีหน่วยงานที่เป็นเหมือนตัวแทนผู้ลงทุน คอยดูแลกำกับตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้จัดการ REIT อีกทอดหนึ่ง ซึ่งเรียกหน่วยงานนี้ว่า “ทรัสตี” (Trustee)
หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว REIT จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในรูปของเงินปันผล
กล่าวโดยง่าย การที่ลงทุนใน REIT ก็เหมือนกับการที่เราไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วเก็บค่าเช่า แต่มีคนช่วยจัดการงานแทนให้เรานั้นเอง
ทั้งนี้ผลตอบแทนในรูปค่าเช่าจะไม่ค่อยมีความผันผวน จึงทำให้ราคาของ REIT ที่อาจจะขึ้นหรือลงมีไม่มาก
เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว เพื่อรับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสได้เงินปันผลมากขึ้นตามรายได้จากค่าเช่าที่เติบโตขึ้น
การลงทุนแบบนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี เพราะมีผู้เช่าหลายคน มีความเสี่ยงน้อยกว่าซื้อหุ้นสามัญ
ผลตอบแทนอยู่ในระดับดี จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 6 % ต่อปี เช่น ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทนแค่ 1 % ต่อปี เป็นต้น และ REIT ยังมีหลักประกันคือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นอีกด้วย
หุ้น กับ REIT มีความต่างกัน กล่าวคือ หุ้น คือ การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัท บริษัทกำไรรับส่วนแบ่งกำไร บริษัทขาดทุนรับส่วนแบ่งขาดทุน REIT คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท รายรับก็คือ ค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่า
การลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายค่าเช่าเป็นงวดๆ จึงสามารถนำมาจ่ายผลประโยชน์แก่สมาชิกในแต่ละปีได้อย่างแน่นอน
กรณีศรีพันวา ก็เหมือน REIT ทั่วไปคือ มีรายได้จากค่าเช่า โดยมี “ศรีพันวา แมเนจเมนท์” คือผู้เช่าที่ต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้กับศรีพันวา
ศรีพันวา แมเนจเมนท์ เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ชาญอิสสระ โดยชาญอิสสระถือหุ้น 85 %
บริษัทชาญอิสสระ ถือหุ้นใหญ่โดย นายสงกรานต์ อิสสระ 29.4 % , นายทวีฉัตร จุฬางกูร 23.5 % และยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกมากมายรวมกัน 1,750 คน
เรื่องที่ 5 : 86 แห่งที่ประกันสังคมไปลงทุนใน REITs มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563

ณ วันนี้สำนักงานประกันสังคมมีการลงทุนใน REIT 86 อสังหาริมทรัพย์
เป็นการลงทุนในกองทรัสต์ ไม่ได้เป็นการลงทุนในบริษัทนั้นๆแต่อย่างใด
86 อสังหาริมทรัพย์ที่ประกันสังคมไปลงทุน มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563 ได้แก่ ดุสิตธานี , ภิรัชออฟฟิศ , อิมแพ็คโกรท , ไทยแลนด์ ไพร์ม , รีเทล โกรท , กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
86 อสังหาริมทรัพย์ เรียงตามลำดับเงินลงทุน ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุเมื่อ 22 กันยายน 63 ไว้มีดังนี้
(เรื่องที่ 6) แล้วปัญหาเรื่องนี้อยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อคำว่า “ประกันสังคมไม่อิสระ” และ “จริยธรรมในการลงทุน” มีความหมาย

สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ที่มีการถกเถียงกันมาหลายปี นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา คือ กองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจหลายหนึ่งรายใด (ที่ไม่ใช่ของรัฐ) หรือไม่ มีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงไหม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล จริยธรรมการลงทุนมีอยู่ในระดับใด มากน้อยเพียงใด
86 อสังหานี้ สำนักงานประกันสังคมใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุนที่ใด
ความเสี่ยงในการลงทุนจากผลกระทบจากโควิด 19 ทางสำนักงานประกันสังคมได้นำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนในอนาคตหรือไม่ อย่างไร
มีตัวอย่างจากกรณีของศรีพันวา ที่พบว่า แม้ว่าคนจะมาพักโรงแรมศรีพันวาน้อยลงมาก แต่ศรีพันวาก็จะได้รับค่าเช่าที่ตกลงกันไว้จาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ซึ่งอยู่ใต้ชาญอิสสระอยู่ดี แต่กลับมีจดหมายวันที่ 17 กรกฎาคม 2063 ที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขอเลื่อนจ่ายค่าเช่าเดือน 2, 3, 6, 7 ของปีนี้ ออกไปอีก 6 เดือน และขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น ศรีพันวา ให้ยอมงดเว้นจ่ายเดือน 4 และ 5 ของปีนี้ สรุปแล้ว เดือน 2-7 ของปีนี้ผู้ถือ ศรีพันวา ยังไม่ได้รับค่าเช่าจาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ แต่อย่างใด
สุดท้ายนี้อาจนำมาสู่เรื่องของ “ความเป็นมืออาชีพของการบริหารงานกองทุนประกันสังคม” ที่ควรเป็นอิสระจากระบบราชการ มีมืออาชีพมาบริหารงาน ผู้ประกันตนมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ มากกว่าเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ทดแทน 7 อย่างเพียงเท่านั้น
เพราะเมื่อกองทุนประกันสังคมเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงอยู่ภายใต้การบริหารงานในระบบราชการที่ขาดความคล่องตัว ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน นี้จึงอาจส่งผลต่อความมั่นคงของกองทุนในอนาคต ที่ผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆ ตลอดจนการไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันการบริหารงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้อยู่ตลอดเวลา