

โรคในเด็ก ที่พบบ่อยวัยทารก 0-5 ปี จนถึงช่วงปฐมวัย
อากาศเปลี่ยนทีไร คุณพ่อคุณแม่อดห่วงไม่ได้สักที กับโรคในเด็กที่พบได้บ่อย ในช่วงทารก 0-5 ปี จนถึงวัยเข้าโรงเรียน เพราะในช่วงนี้ภูมิคุ้มกันของน้องๆยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และช่วงที่เริ่มเข้าโรงเรียนเป็นช่วงที่ลูกมีโอกาสคลุกคลีกับคนหมู่มาก และมีโอกาสติดจากเพื่อนๆที่เล่นด้วยกัน มาดูกันว่าโรคที่ควรเฝ้าระวังในช่วงเปิดเทอมมีอะไรกันบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร ป้องกันกันอย่างไร หากเป็นแล้วจะสังเกตุอาการอย่างไรได้บ้าง มาติดตามกันได้เลยค่ะ
- ติดเชื้อ RSV
เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กช่วงเปิดเทอมที่ป่วยกันมาก โดย RSV พบระบาดได้เกือบทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงที่มีอากาศชื้น ซึ่งการติดต่อของโรคสามารถติดต่อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก หรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัส การติดเชื้ออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรค ที่พบมากคือ หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม
อาการของโรค คือ มีไข้ ไอรุนแรง หายใจลำบาก หายใจเร็ว มีเสียงวี๊ด เสมหะมาก ซึม กินอาหารได้น้อยลง
การป้องกัน หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือให้คนแปลกหน้าจูบหรือหอมแก้มเด็กเล็ก ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ และดูแลอากาศในบ้านให้ปลอดโปร่ง
- โรคมือเท้าปาก
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส พบมากในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเด็กเล็กอาการจะรุนแรงกว่าในเด็กโต
อาการของโรค มีตุ่มพอง ผื่นหรือแผลอักเสบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และภายในปาก มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียในเด็กเล็กจะมีอาการงอแงไม่สบายตัว หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายใด อาการป่วยจะทุเลาลง และหายไปในระยะเวลาประมาณ 10 วัน หากมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซึมลง ปวดศีรษะมาก ปวดต้นคอ เพ้อ ควรพบแพทย์ทันที
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหาร ไม่ใช้สิ่งของหรือภาชนะร่วมกับผู้อื่น
- ไข้หวัดใหญ่
โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงและมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู โดยเฉพาะฤดูฝนและหนาว การรักษา จะรักษาตามอาการไข้หวัด หรือในบางรายอาจได้รับยาต้านเชื้อไวรัสร่วมด้วย ควรพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะร่างกายจะอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ คือ ภาวะขาดน้ำ การติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะต่างๆ เช่น หู ไซนัส หลอดลม และปอด เป็นต้น
การป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำทุกปี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือสม่ำเสมอ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
- ท้องร่วง ท้องเสีย
เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือการหยิบสิ่งของเข้าปาก
อาการ คือ ถ่ายเหลว อาจมีไข้ร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง บางรายมีอาการรุนแรงร่างกายเสียน้ำมากจนมีอาการขาดน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการวิกฤตได้ อาการท้องร่วงส่วนมากจะหายได้เอง แต่ต้องระวังภาวะขาดน้ำ การรักษาจึงต้องป้องกันภาวะขาดน้ำโดยการให้น้ำเกลือแร่ ORS แก่ผู้ป่วย
การป้องกัน ล้างมือให้สะอาด ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ล้างขวดนมให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอยและถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ
- ไข้เลือดออก
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
อาการ คือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว การรักษาจะดูแลตามอาการ แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในเด็ก หรือ ผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วป่วยซ้ำได้
การป้องกัน คือ ป้องกันยุงลายกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของ 5 โรคที่พบบ่อยในเด็กช่วงวัยอนุบาล เพราะเด็กเป็นวัยที่ร่างกายยังไม่เติบโตเต็มที่ และยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ จึงควรดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพลูกน้อยเป็นพิเศษ
ถึงแม้จะป้องกันและระมัดระวังอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าลูกน้อยจะไม่เจ็บป่วย
ประกันสุขภาพเด็ก จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากๆสำหรับเด็กช่วงวัยนี้ เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายของคุณพ่อคุณแม่
เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบัน และความถี่และโอกาสที่จะต้องเข้าไปรับการรักษาพยาบาลที่บ่อยของเด็กวัยนี้