

กีฬาไพ่คารุตะ
กีฬาไพ่คารุตะ เป็นกีฬาไพ่อย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เกมคารุตะที่เป็นทางการนั้นจะเป็น เพลงกลอนไพ่คารุตะ ภายใต้รูปแบบและกฎระเบียบที่กำหนดโดย สมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่น ความเป็นมาและภาพรวม การแข่งขันในญี่ปุ่นเริ่มมีมาประมาณศตวรรษที่ 19 และได้ก่อตั้งสมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 1934 และมีการเริ่มแข่งขันระดับยอดฝีมือผู้ชาย ตั้งแต่ปี 1955 และ ยอดฝีมือผู้หญิงตั้งแต่ปี 1957 และในปี 2012 ได้มีการแข่งระดับระหว่างประเทศโดยมีประเทศ สหรัฐอเมริกา, ไทย, เกาหลีใต้, นิวซีแลนด์และจีนเข้าร่วม
ลักษณะไพ่
ไพ่มาจากการเอา กลอน 100 กลอนประเภททังกะ ของญี่ปุ่นมาลงใน ไพ่อ่านและไพ่หยิบ
-ไพ่อ่าน (Yomifuda); จะมี 100 ใบ โดยลักษณะจะมี อักษรกลอนอยู่ในไพ่เพื่อให้ผู้อ่านให้ผู้เล่นและมีรูปวาดผู้แต่งกลอนอยุ่ในนั้นด้วย โดยกลอนจะมี พยางค์แบบทังกะ คือ 5-7-5 7-7 พยางค์
-ไพ่หยิบ หรือ ไพ่เล่น (Torifuda); จะมี 100 ใบเช่นกัน โดยที่ลักษณะไพ่จะมีเพียงกลอนวรรคหลังเท่านั้น (คือ 7-7) โดยผู้ที่เล่นจะต้องฟังผู้ถือไพ่อ่าน พอเริ่มอ่านผู้เล่นต้องไปตบไพ่วรรคท้ายของกลอนที่อ่านออกมา
ลักษณะและกฎการเล่น
การเล่น กีฬาไพ่คารุตะ คือ เล่น 2 คน ลักษณะท่าการเล่นคือ นั่ง และการเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบ จากไพ่ 100 ใบ (คือ เล่น 50 ฝั่งผู้เล่นละ 25 ใบนั้นเอง) โดยส่วนใหญ่จะเล่นบนเสื่อทาทามิ ส่วนลักษณะการวางนั้นจะวางไพ่กลอนหยิบตามความถนัดของผู้เล่น แต่สนามเล่นต้องมีขนาดกว้าง ประมาณ 87 เซนติเมตร และระยะห่างของสนามแต่ละฝั่งของผู้เล่นคือ 3 เซนติเมตร โดยกฎการเล่นคือ มีเวลาจำไพ่ 15 นาทีก่อนเล่น และเริ่มจะมีผู้อ่านกลอนอ่านกลอนเพื่อให้ผู้เล่นฟังและหยิบไพ่วรรคท้ายที่คู่กับไพ่ที่อ่าน ผู้เล่นฝ่ายใดหยิบไพ่ที่ถูกได้เร็วกว่าก่อนถือว่าได้แต้มโดยที่ ถ้าหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งตนเองได้ก็ลด 1 ใบ แต่ถ้าไปหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งของฝ่ายตรงข้ามได้ก็ต้องหยิบส่งไพ่ในฝั่งของตนไปให้กับอีกฝ่ายเพื่อให้ฝั่งตนเองลดและฝั่งตรงข้ามจะเท่าเดิม ไพ่เปล่า(Karafuda) คือ ไพ่ที่อ่านแล้วไม่มีในสนาม (เนื่องจากเวลาเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบในสนามทำให้อีก 50 ใบจะเป็นกลอนเปล่าหรือกลอนหลอก) และการหยิบไพ่ผิดจะเรียกว่า โอเทสึกิ(Otetsuki) หรือ ฟาวล์ จะเป็นลักษณะของ ที่ผู้เล่นหยิบไพ่ผิดใบหรือผิดฝั่ง และไพ่ที่ไม่อยู่ในสนามเลย(ไพ่เปล่า) และวิธีการปรับฟาวล์คือ ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามก็จะหยิบไพ่ในแดนของเขา 1 ใบให้ฝั่งเราทำให้เรามีไพ่เพิ่มนั้นเอง
ระดับของผู้เล่น ในญี่ปุ่นมีระดับความเก่งของผู้เล่น 5 คลาสหรือ 8-10 ดั้ง ได้แก่ E class; ระดับเริ่มต้น D class; C class; 1 ดั้ง B class; 2-3 ดั้ง A class; 4 ดั้ง
คณะกรรมการชุดดังกล่าวเริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ. 2451 นั้นเอง โดยวางโครงสร้างทั่วไปของประมวลกฎหมาย ก่อนจะประชุมหารือกันว่าจะจัดทำเป็นประมวลกฎหมายสองฉบับ ประมวลฉบับแรกว่าด้วยเรื่องหนี้ อีกฉบับว่าด้วยเรื่องอื่น เช่นที่เป็นอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศตูนีเซีย และประเทศโมรอกโก หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติว่าให้จัดทำเป็นประมวลกฎหมายฉบับเดียวที่ว่าด้วยเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์ทั้งหมดจะเหมาะสมกว่า แล้วจึงเริ่มลงมือร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้แก่ราชอาณาจักรสยาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2457 ชอร์ช ปาดู เดินทางกลับไปยุโรปและได้แนะนำเดแลสเตร (Délestrée) แก่ทางการไทยให้รับหน้าที่แทนตน ปรากฏว่าเดแลสเตรผู้นี้ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะดำเนินการยกร่าง ซ้ำเขายังรื้อโครงการที่ชอร์ช ปาดู และคณะทำไว้ก่อนหน้า ทำให้ร่างประมวลกฎหมายเกิดความอลเวง และการดำเนินงานเป็นไปโดยเชื่องช้าอย่างถึงที่สุด เมื่อชอร์ช ปาดู เดินทางกลับมาใน พ.ศ. 2459 ถึงกับตกตะลึงที่รับทราบว่างานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยุ่งเหยิงถึงเพียงนั้น ทั้งที่ตนได้วางระเบียบไว้ตั้งแต่แรกแล้ว เขาถึงเจรจราให้เดแลสเตรลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนเสีย เพื่อเขาจะได้กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้ง และแล้ว งานร่างประมวลกฎหมายก็ดำเนินต่อไป และใน พ.ศ. 2459 นั้นเอง จึงได้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สองบรรพแรก คือ บรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 หนี้ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าในระหว่างห้วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลสยามต้องสูญเสียงบประมาณไปถึง 770,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินมหาศาลในกาลครั้งนั้น แต่กลับได้ร่างกฎหมายเพียงแค่สองบรรพ
เนื่องจากร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดทำเป็นภาษาอังกฤษก่อนจะแปลเป็นภาษาไทย ร่างทั้งสองบรรพนั้นจึงได้รับการส่งต่อมาให้แก่คณะกรรมการตรวจภาษา ซึ่งประกอบด้วยดหมายของผู้ร่างนั้น ในสาระสำคัญก็คือ ร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ร่างจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ตกหลุมพรางของการคัดลอกบทบัญญัติของกฎหมายต่างประเทศแล้วนำมาดัดแปลงเอาอย่างเพียงผิวเผิน ไม่ว่าบทกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ จะประเสริฐเลิศเลอเพียงใดก็ตาม สำหรับการร่างกฎหมายแต่ละลักษณะ ๆ นั้น ผู้ร่างจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาเรื่องนั้น ๆ อย่างกว้าง ๆ ก่อนโดยดูจากตัวบทกฎหมายของสยามที่มีอยู่ (พระราชบัญญัติ หรือคำพิพากษา) และจากประมวลกฎหมายสำคัญ ๆ ของต่างประเทศ เช่น ในแง่ของความชัดเจนจะดูจากประมวลกฎหมายฝรั่งเศส หลักกฎหมายบางอย่างดูจากกฎหมายอังกฤษบางฉบับซึ่งนักกฎหมายสยามส่วนมากรู้จักเป็นอย่างดี ในแง่ของบทบัญญัติที่สะดวกในการใช้และทันสมัยจะดูจากประมวลกฎหมายของสวิสและญี่ปุ่น ในแง่ของความกระชับรัดกุมด้วยเทคนิคทางกฎหมายก็จะดูจากประมวลกฎหมายเยอรมัน นอกจากนั้นก็ยังได้นำเอาข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่ได้มีขึ้นในกฎหมายของอิตาลี เบลเยียม ฮอลันดา และบางรัฐ ในอเมริกามาเป็นข้อพิจารณาด้วย ในกรณีที่มีทางที่จะบัญญัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปได้หลาย ๆ แนวทาง คณะกรรมการจะเลือกแนวทางที่มีผลในทางปฏิบัติมากที่สุดสอดคล้องกับความจำเป็นสมัยใหม่ที่สุด ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และภูมิปัญญาของประเทศที่ได้มีประมวลกฎหมายมาก่อน มากกว่าที่จะลอกเลียนตาม ๆ กันไปดังเป็นทาสทางปัญญา…”
แม้จะมีการวางแนวทางไว้เช่นนั้น ทว่า การดำเนินงานก็มิใช่ง่าย เนื่องจากในการหยิบยกบทกฎหมายของไทยแต่เดิมขึ้นมาพิจารณาประกอบนั้น ตัวบทกฎหมายทางวิธีพิจารณาความและทางอาญามีมากกว่าทางแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับใน พ.ศ. 2462 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ได้ทรงลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้รับตำแหน่งแทน อนึ่ง ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหลายคณะจนเฝือ เช่น คณะกรรมการช่วยยกร่าง คณะกรรมการตรวจคำแปลให้ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและการใช้ภาษา เป็นผลให้งานร่างกฎหมายเป็นไปอย่างติด ๆ ขัด ๆ และการติดต่อประสานงานกันระหว่างคณะกรรมการทั้งหลายเป็นไปอย่างล่าช้า มีความคืบหน้าน้อยมาก