

วิธีเดลฟาย
วิธีเดลฟาย หรือ วิธีเดลฟ (Delphi method) เป็นวิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์โดยวิธีการออกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เทคนิคเดลฟายเป็นเทคนิคที่มีขั้นตอนและระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน โดยผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวนสองรอบหรือมากกว่านั้น โดยในแต่ละรอบผู้จัดทำจะสรุปคำตอบของรอบนั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตอบคำถามในรอบถัดไป โดยเชื่อว่าคำตอบในแต่ละรอบจะถูกเกลาให้ “ถูกต้อง” มากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้าย การสอบถามจะหยุดลงเมื่อได้ข้อสรุปที่มั่นคง และคะแนนค่าเฉลี่ยหรือมัธยฐานจะเป็นตัวกำหนดคำตอบเป็นวิธีหนึ่งของการมองอนาคต ได้รับการพัฒนาโดย RAND Corporation ในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 เป็นวิธีสำรวจความเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาหนึ่งๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ตอบแบบสอบถามชุดเดียวกันหลายครั้ง ในการสำรวจรอบที่หนึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามจะตอบคำถามพร้อมข้อคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคำถาม จากนั้นคณะวิจัยจะคำนวณหาค่าควอไทล์ (quartile) ของคำตอบและรวบรวมข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้ตอบเพิ่มลงในชุดแบบสอบถามรอบที่สอง พร้อมส่งคำตอบที่ได้ในรอบแรกคืนให้ผู้ตอบ ผู้ตอบจะเปรียบเทียบคำตอบของตนกับผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อตัดสินใจใหม่ว่า จะยืนยันความคิดเดิม หรือจะเปลี่ยนใจโดยมิต้องเผชิญหน้ากับผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ความเห็นที่แตกต่างจากความเห็นของคนส่วนใหญ่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่าความเห็นของสมาชิกที่ดีที่สุดของกลุ่มอาจไม่ตรงกับความเห็นของคนส่วนใหญ่ ในระยะแรกมีการใช้เทคนิคเดลฟายกันมากในการคาดการณ์เทคโนโลยี โดยทำนายว่าเทคโนโลยีใดจะมีการพิสูจน์หลักการได้เมื่อใด จะเริ่มพร้อมใช้งานหรือจะมีการใช้อย่างแพร่หลายได้เมื่อใด แต่ต่อมามีการใช้อย่างแพร่หลายในการสำรวจและประเมินนโยบายด้านต่างๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทางด้านการศึกษา การจัดการ และสาธารณสุข เรียกว่าเป็นเดลฟายเชิงนโยบาย (policy Delphi)
ปริมาณไอดีก็จะเข้าในห้องเผาไหม้ในปริมาณที่มากตามไปด้วย ภายในของคาร์บูฯมีช่องคล้ายคอขวดเรียกว่าช่องเวนจูรี่ ส่วนนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเวนจูรี่ ความเร็วของไอดีจะมีมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเส้นผ่า ศูนย์กลางของท่อมีขนาดเล็กลง การเพิ่มความเร็วของการเคลื่อนที่ส่งผลให้ความดันที่บริเวณคอขวดลดลง ทำให้เกิดภาวะความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ นอกจากนั้นคอขวดจะมีท่อน้ำมันขนาดเล็ก น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกดูดเข้ามาผสมกับอากาศ และวิ่งต่อไปสู่ห้องเผาไหม้ สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๙/๒๕๑๙ มีมติให้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน โดยจัดทำรายงานเรื่อง “การปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐ” โดยมีการเสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น ในสมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน
สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๙/๒๕๑๙ มีมติให้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน โดยจัดทำรายงานเรื่อง “การปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐ” โดยมีการเสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น ในสมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน ต่อมา เมื่อมีรัฐบาลใหม่ ในปี 2520 และในปี 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการพิจารณาการตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ขึ้น โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติ และได้รับความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกาศใช้ใน ราชกิจจานุเบกษา มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2522
ในภายหลัง เมื่อ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้น และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติ่ม เช่น กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสามหน่วยงานนี้จัดตั้งตามพันธกิจ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยรับโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมกับเปลื่ยนนามกระทรวงเสียใหม่ เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2535
ต่อมาในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับงานที่มากขึ้น ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบทบาทที่ชัดเจนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกยุบลงและควบรวมเข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกระทรวงใหม่ชื่อว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม